บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Applied Japanese Linguistics ครับ ไว้บันทึกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาตัวผมเอง เนื้อหาส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องรูปจบประโยคหรือ 文末表現 สำหรับ 目標 ในการศึกษาครั้งนี้คือ เพื่อ"ศึกษา"และ"พัฒนา"ทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่นของตนเองเกี่ยวกับการใช้รูปจบประโยคหรือ 文末表現 ให้มีความชำนาญและเป็นธรรมชาติเหมือนอย่างเจ้าของภาษาให้ได้มากที่สุด อีกทั้งใช้วิธีการเรียนรู้แบบพัฒนาจากข้อผิดพลาดของตัวเอง (To learn by my mistakes) เพิ่งหัดทำ เป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ :) 頑張っていこう!!
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ไขข้อข้องใจ เปลี่ยน です เป็น だ จะดีไหมนะ
สวัสดีครับทุกคน กลับมาอีกครั้งเพราะคราวนี้เรามีข้อสงสัยตามหัวเรื่องเลย ;-( เท้าความสักนิด คือที่มาของข้อสงสัยคราวนี้เกิดจากเวลาที่เราพูดภาษาญี่ปุ่นกับเพื่อน ย้ำ!ว่ากับเพื่อน ตั้งนานมาละสังเกตตัวเองเหมือนกันว่าเวลาเราพูดเนี่ยเรามักจะลงท้ายประโยคด้วย です ตลอดเลย เช่นแบบ 僕も行きたいです。บ้าง それを一度食べてみたいです。บ้าง ก็เข้าใจนะว่าส่วนหนึ่งก็เพราะอาจารย์สอนมาว่าใช้รูปสุภาพ です ます เอาไว้ก่อนไม่ผิด ใช้ๆไปเถอะ ทำนองนี้ o_o แต่บางทีเราก็รู้สึกอะนะว่ามันไม่ใช่อ้ะ พูดกับเพื่อนถึงจะไม่สนิทกันมากแต่ให้มาใช้รูปสุภาพตลอดมันแปลกๆยังไงไม่รู้ (ความจริงคนญี่ปุ่นอาจพูดสุภาพกับเพื่อนทุกคนก็ได้ ตรงนี้ก็ไม่รู้อะนะ เหอๆ) แล้วก็ไม่ใช่เราคนเดียว เคยลองสังเกตลองแอบฟังคนอื่นพูดดู ก็เห็นว่าส่วนใหญ่ใช้รูปสุภาพมากกว่ารูปธรรมดาจริงๆแหละ มาหลังๆก็เลยเปลี่ยนความคิดใหม่อยากลองใช้ だ แทน です ดูบ้าง แต่เพื่อความมั่นใจก็เลยลองศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อน ลองเปิดเน็ตอ่านไปอ่านมา ได้ความรู้ประมาณนี้และ ลองอ่านกันดูนะครับ >.<
1. การใช้ だ ต่อท้ายคำนามจะเป็นการแสดงการยืนยันหรือแสดงความเห็นอย่างมั่นใจเช่น 彼はフランス人だ。今日は山本先生のお誕生日だ。เป็นต้น
2. การใช้ だต่อท้ายคำกริยาที่ผัน โดยใช้ในรูป んだ หรือ のだ สามารถแสดงความหมายหรือท่าที (Aspect) ได้หลายแบบมาก แบ่งย่อยๆได้เป็น
2.1 เพื่ออธิบายเหตุผล สาเหตุหรือหลักฐานของเรื่องต่างๆพวกนี้ เช่น あの店は位地が悪いので、いつも空いているのだ。หรือ 全然勉強しなかったから期末試験に落ちたんだ。เป็นต้น
2.2 สามารถใช้พื่อแสดงการตัดสินใจ เช่น 必ず君を幸せにするんだ。^^
2.3 บางทีก็ใช้ในเชิงออกคำสั่งได้นะ เช่น 速く歩くんだ。(เดินเร็วๆเข้าสิ) หรือ もっと食べるんだ。(กินเข้าไปอีก) ทำนองนี้
3. การใช้ だจบประโยคยังสามารถใช้ในประโยคที่ใส่อารมณ์เข้าไปด้วย อธิบายโดยยกตัวอย่างชัดๆ เช่น さあ、出発だ。(เอาล่ะ จะออกเดินทางละนะ) หรือ 大変だ、大変だ、かばんを置き忘れてしまったんだ。(แย่แล้วแย่แล้ว ดันลืมกระเป๋าซะได้)
นอกจากนี้ บางครั้งยังสามารใช้だในลักษณะคำอุทาน โดยอาจใช้คำ ね หรือ なเช่น 私はだね、。。。(ฉันน่ะนะ....) หรือ それはだな、。。。(นั่นน่ะนะ....) เป็นต้น
เอาล่ะ ศึกษาเล็กน้อยพอเข้าใจแล้ว (เยอะๆไม่ได้ จำไม่ไหว) ถ้ามีโอกาสพูดกับเพื่อนๆอีกไว้จะลองฝึกดู ได้ผลเป็นไง ไว้จะกลับมาเล่าให้ฟังนะครับ วันนี้พอก่อน ต้องไปเรียวแว้ววว ไว้คราวหน้าเจอกันค้าบบ :))
ปล.ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลส่วนหนึ่งจากเว็บ Jcampus ด้วยครับวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ไขข้อข้องใจการใช้ か จบประโยค
ที่มาที่ไปก็ไม่ได้มีอะไรมากหรอกนะครับ แค่เมื่อสัปดาห์ก่อนคุยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นชื่อชุน (駿) แล้วมีอยู่ตอนหนึ่งเราถามเพื่อนไปประมาณว่า "อยากกินอะไร" เราเห็นเป็นเพื่อนไม่ต้องสุภาพอะไรด้วยก็เลยถามเพื่อนไปว่า 何を食べたいか? พอถามเพื่อนก็เหมือนอึ้งๆไปสักพัก O_O ก่อนจะพูดว่า そうだねえ、何にしようかなあ。。(คิดในใจว่าไม่เห็นตอบคำถามเราเลยวะ - -*) ไอ้เราก็สงสัยว่าก่อนมันพูดมันสตั้นท์ทำไมก็เลยถาม เพื่อนบอกว่า 食べたいか มันเป็นรูปธรรมดาก็จริงแต่ถ้าเราที่อายุยังน้อยๆพูดเนี่ยมันจะแปลกมากเลย!! มันเป็นคำที่ผู้ชายมีอายุหน่อยๆเขาพูดกัน เราตอนนั้นก็ เฮ้ย!! จริงเหรอ!? ไม่เคยรู้นะเนี่ย!! ก็เลยถามมันต่อว่าถ้าอย่างนั้นควรพูดว่าอะไร เพื่อนก็แนะนำว่าให้พูด “何を食べたいと思う?” ขึ้นเสียงสูงตอนท้ายๆจะฟังดูธรรมชาติกว่า เราก็ โอวว!! บรรลุ :-) แต่มันก็ยังไม่หายสงสัยอยู่ดีก็เลยลองกลับมาศึกษาเองดูเกี่ยวกับการใช้รูปธรรมดาจบด้วย か ก็ได้ความอย่างข้างล่างนี้ล่ะ ถ้าใครอยากรู้ลองอ่านดูนะครับ ^^
1. ใช้ในกรณีที่พูดเกี่ยวกับการตัดสินใจบางอย่างของตัวเองให้ตัวเองฟัง อารมณ์คล้ายๆพูดกับตัวเอง
เช่น さあ、起きるか。จะตื่นล่ะนะ
2. ใช้ในการยอมรับความจริงในสิ่งที่เพิ่งได้รับรู้และในขณะเดียวกันก็รู้สึกประหลาดใจด้วย
เช่น もう11時か? สิบเอ็ดโมงแล้วเหรอเนี่ย
3. ใช้ในประโยคคำถามที่เป็นการพูดรำพึงรำพันกับตัวเอง สังเกตง่ายๆก็อย่างเช่นพวก だろうか かな のか のかな かしら เป็นต้น
4. สามารถนำประโยคคำถามรูปธรรมดา+か แทรกกลางประโยค เพื่อทำให้ประโยคคำถามนั้นเป็นประโยคย่อยได้ เช่น 田中さんは何時に来るか、知っていますか。
อย่างไรก็ดี เขาว่าการใช้ か ในประโยคคำถามที่เป็นรูปธรรมดาเนี่ย จะเป็นคำถามที่พูดกับตัวเองโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น ส่วนใหญ่แล้วเป็นคำที่ผู้ชายใช้พูดกับผู้อาวุโสน้อยกว่า ลูกน้อง นักเรียนหรือในหมู่คนที่สนิทกัน ถ้านอกจากกรณีแล้วก็ไม่ควรใช้เลย !!
หลังได้อ่านเราก็เข้าใจขึ้นเยอะนะ คิดว่าต่อไปก็คงระวังๆใช้ให้มันถูกต้อง ยังไงก็ขอขอบคุณที่มาข้อมูลข้างต้นด้วยนะครับ ช่วยได้มากเลย 助かりました。
วันนี้พอแค่นี้ก่อน แล้วจะมาเขียนต่อครับ บ๊ายบาย :))
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)