credit : http://www.uneyuka.com/course/index.html
山内修二様
こんにちは。私はタナバットと申します。現在大学3年生で、フラメンコギターに深く興味を持っていて、将来フラメンコ舞踊の伴奏者をしたいと思っています。実はこの間、インターネットをしていると、山内様のホームページで「個人レッスンを引き受ける」という知らせを見ましたが、受けたいなと思っているのです。山内様のようなプロ級のギタリストに習うことと、5年ほどたまってきた自分のフラメンコギターの能力を活かしていきたいことのため、ぜひレッスンを受講したいのです。ですから、授業日や授業料などの詳しいことを教えていただけないでしょうか。どうぞよろしくお願い致します。
タナバット
เมื่อลองได้ศึกษาวิธีการเขียนจดหมายประเภทนี้แล้วก็พบว่าที่ตัวเองอุตส่าห์พยายามเขียนไปน่ะมันมีที่ผิดหลายที่มากๆ
สิ่งสำคัญที่สุดของ Task ครั้งนี้คือ การคิดว่า “อีกฝ่ายอยากรู้อะไร”
ง่ายๆคือเราต้องลองจินตนาการดูว่าถ้าเราเป็นอาจารย์แล้วมีนักเรียนมาขอเรียนกับเรา ข้อมูลอะไรคือสิ่งที่เราอยากรู้จากนักเรียนคนนั้น
อย่างในที่นี้เราควรจะบอกว่าเราสะดวกเรียนวันไหน
ค่าเรียนประมาณเท่าไรถึงจะสามารถเรียนได้ รวมไปถึงประสบการณ์ของเราว่าเล่นกีตาร์มานานเท่าไรแล้ว
เหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเขียนลงไปอย่างแน่นอนแต่ทว่าเราไม่ได้เขียนลงไปเลย
นับว่าพลาดอย่างแรง ส่วนรายละเอียดและความเหมาะสมอื่นๆที่ได้ลองศึกษาจากเอกสารประกอบและให้เพื่อนแนะนำเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขเท่าที่คิดได้ก็คือ
๑. การใช้คำต่อท้ายชื่ออาจารย์แทนที่จะใช้คำว่า 様ควรใช้คำว่า先生จะเหมาะสมกว่าเพราะเรากำลังจะไปเรียนกับเขา
ดังนั้นเขาควรมีฐานะเป็น “อาจารย์” ของเรา ถ้าใช้ 様มันจะให้อารมณ์ยกย่องแบบเว่อร์เกิน
อีกอย่างคือชื่ออาจารย์ควรเขียนชื่อเต็มคือทั้งชื่อและนามสกุล
๒. จากที่เขียนไปใช้คำทักทายこんにちはนั้นไม่ถูกต้องเพราะให้อารมณ์เหมือนกับว่าเรารู้จักอีกฝ่ายดีแล้ว
เหมือนทักทายกับคนรู้จักกัน ในสถานการณ์ที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกเช่นนี้สำนวนที่เหมาะสมที่สุดคือ初めまして ตามด้วยการแนะนำตัวเองคือชื่อเราตามด้วยと言いますหรือと申しますในกรณีนี้จะลงท้ายด้วยですไม่ได้เพราะถ้าใช้ですจะให้อารมณ์ว่าอีกฝ่ายรู้ตัวตนเราว่าเราเป็นใครแล้ว
สถานการณ์นี้จึงใช้ไม่ได้
๓. การขึ้นต้นจดหมายให้สละสลวยและดูดีมีมารยาทนั้นก็นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน
ในสถานการณ์นี้ถ้ากล่าวเกริ่นนำเป็นการขออภัยที่ส่งอีเมลมากะทันหันก็ฟังดูดี
อาจใช้สำนวนสุภาพอย่างเช่น 突然メールを差し上げる失礼をお許しくださいหรือ 突然メールをお送りする失礼をお許しくださいก็ได้
๔. พ้อยท์ที่สำคัญของการฝึกเขียนครั้งนี้คือ “การคิดว่าอีกฝ่ายรู้อะไร
ยังไม่รู้อะไรและต้องการรู้อะไร”
จะพบว่าการเขียนของตัวเองครั้งนี้ยังบกพร่องในจุดนี้มาก ยกตัวอย่างเช่นประโยค山内様のホームページで「個人レッスンを引き受ける」という知らせを見ましたがตรงนี้นับได้ว่าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องเขียน (要らない情報)เพราะข้อมูลในเว็บเพจที่อาจารย์เขียนเอาไว้นั้นอาจารย์ย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร
ดังนั้นการที่เราเขียนไปนั้นจึงไม่จำเป็นเลย ลองนึกดูก็ได้ อาจารย์ก็คงไม่อยากทราบสิ่งที่ตัวเองเขียนไปแล้วหรอกใช่ไหม
สิ่งที่เราควรเขียนคือข้อมูลส่วนตัวของเราเช่นประสบการณ์ว่าเคยเรียนกีตาร์มามากน้อยแค่ไหน
วันเวลาที่สะดวกเรียน อยากเรียนกี่วัน วันละกี่ชั่วโมง
รวมไปถึงค่าเรียนที่สามารถจ่ายได้โดยไม่ลำบาก รายละเอียดเหล่านี้ต่างหากที่ควรเขียน
สำหรับคำว่า “ค่าเล่าเรียน” ในสถานการณ์นี้ไม่ใช้ว่า 授業料นะครับ แต่จะใช้ว่า レッスン代หรือ月謝(げっしゃ)แทน
๕. จากที่เพื่อนแนะนำมา ประโยคที่ว่าインターネットをしているとนั้นไม่ค่อยดีเพราะให้ความรู้สึกว่าเล่นเน็ตอยู่ดีๆจู่ๆก็ไปเห็นเว็บเพจของอาจารย์
เหมือนกับว่าเราไม่ได้ตั้งใจเข้าไปดูเว็บเพจของเขา อีกอย่างหนึ่งตัวอาจารย์เองก็คงไม่อยากรู้หรอกว่าเราไปเห็นเว็บเพจตอนไหน
นับเป็นข้อมูลที่ไม่สำคัญ เขียนเข้าเรื่องตรงๆเลยน่าจะดีกว่า
๖. ตรง 5年ほどたまってきた自分のフラメンコギターの能力ควรใช้ว่า学んできたหรือ学習してきた
จะฟังดูเป็นธรรมชาติและถูกต้องกว่า
๗. คำเชื่อม ですからที่ใช้ไปก็ไม่ถูกต้องนัก เพื่อนแนะนำว่าน่าจะใช้ว่าそのため เพราะเหมือนกับเป็นการบอกว่าเพราะทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เลยอยากจะถามถึงรายละเอียดต่อไป
จะฟังดูชัดเจนและถูกต้องกว่า
๘. ประโยค受けたいなと思っているนั้นไม่เหมาะสมเพราะสำนวน たいな(あ)นั้นเป็นภาษาพูด
ไม่ควรนำมาเขียนในจดหมายถึงอาจารย์ผู้ใหญ่เช่นนี้ ควรเปลี่ยนไปใช้ 受けたいと考えるหรือสำนวนที่ฟังดูเป็นทางการอื่นๆจะเหมาะสมกว่ามาก
๙. สังเกตได้ว่าจดหมายที่ตัวเองเขียนไปนั้นมีย่อหน้าเดียวเนื้อหาติดกันเป็นพืด
ดูเยอะอ่านยากและลำดับความคิดปนกันไปหมดไม่ชัดเจน คิดว่าถ้าหากเพิ่มย่อหน้าเป็นสักสองถึงสามย่อหน้า
แบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆอาจจะเข้าใจง่ายขึ้นและน่าอ่านกว่านี้
๑๐.
การเขียนจดหมายครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อขอร้องให้อาจารย์ช่วยบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนแก่เรา
เวลาใช้สำนวนขอร้องนั้นนอกจากรูป てくださいแล้วสำนวนที่ใช้นำก็สำคัญเช่นกัน อาจใช้สำนวนว่า 恐れ入りますが、หรือお手数ですが、เกริ่นว่าเราจะขอร้องอะไรสักอย่างก็จะฟังดูเหมือนคนญี่ปุ่นมากขึ้น
๑๑.
จากการศึกษาตัวอย่างการเขียนพบว่าสิ่งที่ไม่ควรเขียนในจดหมายถึงอาจารย์คือการใช้
PS
(ปัจฉิมลิขิต) และสำนวน 悪いですが、เนื่องจากไม่สุภาพ เอาไว้ใช้เขียนจดหมายถึงเพื่อนหรือคนสนิทแทนจะดีกว่านะ
หุหุ
เอาล่ะ เมื่อ 内省ตัวเองเรียบร้อยก็ลองเขียนใหม่ดู
ได้เป็นเวอร์ชั่น 書き直しหน้าตาแบบนี้
山内修二先生
突然メールをお送りする失礼をお許し下さい。初めまして、私はタナバットと申します。現在大学3年生で、フラメンコギターに深く興味を持っております。実は、この間先生のホームページを見て、先生の個人レッスンを是非受けたいと考えました。レッスンを受けさせて頂けるかどうかお尋ねしたいと存じます。
私は5年ほど前から横浜にある田中ひろしフラメンコギター教室の伴奏科で週に3時間の個人レッスンを受けて参りました。将来はフラメンコ舞踊の伴奏者として仕事ができればと存じております。田中先生に相談したところ、プロ級のギタリストである山内先生のレッスンを受講すればよいだろうというアドバイスを頂いたのです。
しかし、私は大学の勉強の他にアルバイトをしておりますので、平日の晩8時以降または日曜日しかレッスンに通えません。そして、月謝のことなのですが、毎月1万円ぐらいであればレッスンが受けられます。お手数ですが、受講させて頂けるかどうかお知らせ頂けないでしょうか。お返事は急ぎませんが、どうぞよろしくお願い致します。
タナバット
คิดว่าดีขึ้นนะ แต่ทำไมรู้สึกว่าแทบจะเขียนใหม่หมดเลยก็ไม่รู้ ฮ่าๆๆ
ถ้าลองอ่านจนจบจะพบว่ามีสิ่งใหม่ที่เพิ่มเข้ามาและสังเกตได้ชัดๆเลยคือ
การใช้รูปถ่อมตัวครับ O_O ก็อยากเป็นเด็กเรียบร้อยอ้ะ >//<
นิดนึง ก็รู้สึกว่ามันฟังดูดีขึ้นจริงๆแหละ ทั้งพวก ておりますเอยと存じますเอย
แต่ใช้มากไปหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ
นอกจากนี้ยังใช้สำนวน田中先生に相談したところ、。。。というアドバイスを頂いたのです(ได้ไอเดียจากเอกสาร ฮี่ฮี่)
คือการที่เราอ้างอาจารย์ผู้อื่นว่าแนะนำเรามาอีกทีเนี่ยมันจะให้ความรู้สึก “ดูดี
จริงจัง จริงใจ มีผู้ใหญ่สนับสนุน” ดูน่าเชื่อถือขึ้นเยอะ ว่าไหม?
อีกอย่างที่ใช้頂いたのですตรงนี้ จะพูดแค่ว่า 頂きましたเฉยๆก็ถูกต้องแล้วนะครับ ที่ใช้รูปのですไปเพราะอยากสื่อความว่า ผมเรียนกับอาจารย์ทะนะกะอยู่
เลยลองขอคำปรึกษาดู ผลก็เลยได้เป็นอย่างนี้นะ (แนะนำให้เรียนกับอาจารย์ยะมะอุจิ)
แต่อาจารย์แนะนำว่าใช้แค่頂きましたก็เพียงพอแล้ว
สุดท้ายที่เพิ่มเข้ามาคือสำนวนお返事は急ぎませんが、どうぞよろしくお願い致します。เป็นการพูดอย่างสุภาพว่าเราไม่รีบร้อนจะได้คำตอบนะครับ
ให้ความรู้สึกเกรงใจอาจารย์ แต่อีกในแง่หนึ่งอาจเหมือนไปเร่งอาจารย์ก็ได้นะ
ต้องระวัง อิอิ
Task ครั้งนี้มีประโยชน์มากๆเลย
ทุกคนลองนำไปใช้เขียนดูนะครับ วันนี้ขอจบแต่เพียงเท่านี้
ไว้พบกันใหม่บล็อกหน้าครับ บ๊ายบาย :
))
โดยส่วนตัวคิดว่า จดหมายฉบับที่เเก้มาใหม่เขียนได้ดีมากๆเลยครับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทั้งคำศัพท์เเละโครงสร้างของอันนี้ดูเหมาะสมกับสถานการณ์ที่ต้องติดต่อกับผู้ใหญ่มากกว่า เเละการเเบ่งย่อหน้าก็ทำให้รู้ว่าเเต่ละย่อหน้ามีความคิดหลักอะไรเเละต้องการกล่าวถึงอะไร ทำให้อ่านได้ง่ายขึ้นมากๆเลยครับ สุดยอดเลย เป็นกำลังให้เรื่อยๆนะครับ :))
ตอบลบเขียนข้อผิดพลาดของตัวเองออกมาได้อย่างละเอียดดีค่ะ อีเมลส่วนที่แก้ก็เขียนได้ดีกว่าเก่ามากค่ะ
ตอบลบ