วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

「のだ」の使い方について(その1)

บล็อกนี้จะพูดเรื่องการใช้ のだสักเล็กน้อยครับ เป็นเรื่องที่อาจารย์ยกขึ้นมากล่าวในชั่วโมงเรียน คิดว่ามีประโยชน์เลยนำมาแบ่งปันทุกคน

のだนั้นโดยปกติแล้วเราจะใช้ในการพูดบอกเหตุผล ใช้พูดเน้นสิ่งที่เราอยากพูดให้ฟังดูหนักแน่นใช่ไหมครับ แต่ทว่าหากเราใช้มากเกินไป โดยเฉพาะในงานเขียนเรื่องหนึ่งๆ ถ้าใช้ のだมากเกินจะทำให้รู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ อีกทั้งถ้าใช้เยอะก็จะให้ความรู้สึกว่าเรามี立場ที่สูงกว่าผู้ฟังด้วย เหมือนที่อาจารย์ได้บอกไว้ว่า 嫌われるかもしれないので使いすぎないように。ควรจะใช้ก็ต่อเมื่อเราต้องการพูดเน้นจริงๆ ว่าเพราะอย่างนี้นะ เป็นอย่างนี้นะ เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว อาจารย์ยังได้ยกตัวอย่างรูปประโยคที่โดยส่วนมากๆๆๆๆแล้วจะลงท้ายด้วย のだ แน่ๆ คือ รูปประโยคต่อไปนี้

  • その結果、・・・のである。
  • 実は、・・・のである。
  • どうして・・・のですか。


จะสังเกตได้ว่าประโยคทั้งสามข้างต้นเป็นประโยคที่ผู้พูดต้องการพูดหรือถามโดยใช้เหตุผลหรือคำอธิบายทั้งนั้นเลย รูปประโยคที่มีความหมายทำนองนี้ล่ะที่เราจะใช้ のだ


ไว้พบกับ のだอีกบล็อกหน้านะครับ ครั้งหน้าจะลองหารายละเอียดเพิ่มเติมและดูจากงานเขียนเก่าๆของตัวเองว่าได้ใช้のだตามกฎหรือเปล่า อิอิ

こういう文末表現もある?

เรื่องนี้ขอตั้งชื่อว่า こういう文末表現もある?หรือแปลเป็นไทยว่า จบประโยคแบบนี้ก็มีด้วยหรือ? ไม่ใช่อะไรหรอกครับ คือเมื่อในชั่วโมงก่อนอาจารย์นำตัวอย่างจดหมายบอกรักภาษาญี่ปุ่นมาให้ดู เนื้อหาน้ำเน่าก็จริงแต่ผมชอบนะ >//< พอลองอ่านแล้วบังเอิญไปสะดุดกับประโยคหลายประโยคเลยที่จบด้วยคำนามเฉยๆ ย้ำว่าคำนามเฉยๆ แบบไม่มี ですไม่มีต่อท้ายทั้งนั้น จะยกตัวอย่างให้ดู ไม่ต้องสนใจคำศัพท์หรือความหมายแต่ลองสังเกตวิธีจบประโยคนะครับ

  • ·       それがどれほど無謀なことかは、分かっているつもり

  • ·       加えて僕の手渡し方はかなり強引だったはず

  • ·       とても渡せるような代物ではないことが分かり、一から書き直し

  • ·       あなたと友達になりたいから

  • ·       とてつもなく大きな何かが待っているかもしれないのだし


เป็นต้น

เมื่อสงสัยก็เลยลองถามอาจารย์ดู ได้รับคำตอบว่า ในการเขียนที่ไม่เป็นทางการอย่างเช่นในไดอารี่หรือจดหมายรักแบบนี้ การพบวิธีจบประโยคเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะว่าเราเขียนจดหมายเหมือนกับเราคุยกับฝ่ายตรงข้ามอยู่อย่างเป็นกันเอง ดังนั้นการใช้รูปแบบนี้จึงไม่ผิดและสามารถใช้ได้

ก็เป็นอันว่าเคลียร์ แต่ก่อนเคยเขียนบันทึกเล็กๆน้อยๆเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่ไม่เคยจบประโยคแบบนี้เลย คราวหน้าต้องลองเอาไปใช้บ้างละ หึหึ สงสัยต้องฝึกเขียนจดหมายบอกรักเป็นภาษาญี่ปุ่นซะล่ะมั้ง ยังไงดีล่ะ あなたのことが好き!この地球上のだれよりもอะไรงี้เหรอ ฮ่าๆๆๆๆ



อีกอย่างหนึ่งที่สังเกตได้จาก Text ก็คือ ในย่อหน้าหนึ่งๆนั้น หลายประโยคมีวิธีจบที่ไม่เหมือนกัน บางที่จบด้วยคำนามเฉยๆ บางที่จบด้วยรูปธรรมดา แต่บางที่ก็จบด้วยรูปสุภาพ จะลองยกตัวอย่างดูจากย่อหน้าหนึ่งที่ส่วนตัวแล้วชอบมากๆๆ ลองอ่านดูและสังเกตการจบประโยคไปด้วยนะครับ

世の中には知らない人や出会わない人達の方が、知っている人や出会った人達よりも圧倒的に大勢います。少なくとも僕はこの広い世界の中であなたを探し当てました。本当の出会いが持てるかどうかは、あなたにかかっています。あなたが明日もまた笑顔で店に立ち寄ってくれるなら、僕はきっかけの次を手に入れたことになる。小さなきっかけをください。最初の何かを

ซึ้งมากเลยนะว่ามะ J เหตุผลที่มีรูปจบประโยคปะปนกันเช่นนี้ที่คิดได้ก็คือ เพราะเป็นจดหมายรัก บางครั้งคนเขียนมีหลากหลายอารมณ์ เดี๋ยวอยากพูดตรงๆเป็นกันเองแบบเพื่อน เดี๋ยวอยากแสดงความสุภาพ รูปจบประโยคก็เลย ばらばらเช่นนั้น เอาเป็นว่าสรุปการใช้รูปจบประโยคเช่นนี้ในจดหมายไม่ผิดอะไร และถ้าหากเราจะเขียนจดหมายบอกรักบ้างก็ควรเขียนไปตามอารมณ์และความรู้สึกมากกว่ากังวลว่าไวยากรณ์จะถูกหรือไม่หรือจบประโยคแบบนี้จะเป็นอะไรไหม เพราะไม่ว่ายังไงๆ 愛する気持ちは一番大切อะนะอะนะ


แล้วพบกันใหม่บล็อกหน้าครับ : ))

間違いの修正1

2週間前に「目に浮かぶ描写」について投稿しましたが、この間日本人の柏さんが内容を読んだり間違いを直したり色々アドバイスをしたりしてくれました。僕もそれを見て極めて参考になったと思います。今そのアドバイスを参考しながら間違ったところを修正します。

まず、一度直してもまだ間違いがある本文です。

目に浮かぶ描写 (修正バージョン1)
 ホテルに来たペエスケロビーにあるソファーに座って、特に何をするでもなくぼーっとしています。同じソファーには、新聞を読んでいる50代ぐらいのおじさんが座っています。しばらくすると、ペエスケはふと視線を移すと、地図を持っている外国人のおじさんと目が合ってしまいました。地図を広げて自分の方に近づいているところを見ると、きっとその外国人のおじさんが道でも聞きに来るのだろうと思ったので、ぺエスケは隣に座っているおじさんが読んでいる新聞の陰に隠れて、新聞を読んでいるふりをしました。外国人のおじさんはぺエスケを見て言葉を失ったほど怒っているようです。

以下の1-5は柏さんがアドバイスをしてくれたものです。皆さん読んでみてください。

① 「しばらくすると、ペエスケはふと視線を移すと、」
「視線を移す」という表現、とてもいいと思います。気になるのは、「~と」は1文に複数回使っていることです。「しばらくしてペエスケがふと視線を移すと・・・」のほうが自然です。

② 「自分の方に近づいている」
「自分」ですよね。「近づいてくる」がいいと思います。

③ 「地図を広げて自分の方に近づいているところを見ると、きっとその外国人のおじさんが道でも聞きに来るのだろうと思った」
「・・・と、・・・」の使い方はタスク1 道案内で勉強しましたよね?ぜひもう一度復習してみてください。

④ 「(ペエスケは)きっとその外国人のおじさんが道でも聞きに来るのだろうと思ったので、・・・」
あなたはペエスケではありませんから、「・・・と思ったのでしょう。・・・」または「・・・と思ったのか、・・・」と書いた方がいいかと思います。

⑤ 「ホテルに来たペエスケが」

長いストーリーがあって、その途中を話して聞かせるのなら「が」がいいです。でも、この4コマ漫画のストーリーしかなくて、前のストーリーやペエスケという人を全然知らない人にこの話を聞かせるのなら、「は」ですよね?ペエスケが初めて登場する文ですから。

柏さんがアドバイスをしてくれた通りによく考えて、もう一回本文を直してみれば、以下のように修正バージョンができました。読んでみてください。


目に浮かぶ描写 (修正バージョン2)
 ホテルに来たペエスケロビーにあるソファーに座って、特に何をするでもなくぼーっとしています。同じソファーには、新聞を読んでいる50代ぐらいのおじさんが座っています。しばらくしてペエスケがふと視線を移すと、地図を持っている外国人のおじさんと目が合ってしまいました。地図を広げて自分の方に近づいてくるところを見たら、きっとその外国人のおじさんが道でも聞きに来るのだろうと思ったのか、ぺエスケは隣に座っているおじさんが読んでいる新聞の陰に隠れて、新聞を読んでいるふりをしました。外国人のおじさんはぺエスケを見て言葉を失うほど怒っているようです。

皆さん、どうですか。もし質問やコメントなどがあれば、どんどん以下のコメントボックスに入れておいてください。

飛行機に乗れなくてよかったな!

มาต่อกันเลยกับ タスクต่อไป ครั้งนี้ขอตั้งชื่อเรื่องว่า 飛行機ครับ ภารกิจที่อาจารย์มอบหมายครั้งนี้เป็นการบรรยายรูปอีกแล้วครับ แต่เป็นการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยคเงื่อนไขหรือ If Clause ในภาษาอังกฤษนั่นเอง จากรูปข้างล่าง เหตุการณ์คร่าวๆก็มีอยู่ว่า ผู้หญิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องจะต้องขึ้นเครื่องบินไปที่ไหนสักแห่ง แต่ด้วยเหตุอันใดก็ไม่รู้ทำให้ผู้หญิงคนนี้ขึ้นเครื่องบินไม่ทัน พูดง่ายๆคือตกเครื่องนั่นแหละ เมื่อตกเครื่องทำอะไรไม่ได้ก็ต้องกลับบ้าน แต่ปรากฏว่าพอดูทีวีกลับเห็นข่าวเครื่องบินที่ตัวเองจะต้องขึ้นตกซะงั้น งานนี้ผู้หญิงคนนี้เลยโล่งอกคิดว่าถ้าขึ้นเครื่องบินไปตอนนั้นตัวเองคงต้องตายแล้วแน่ๆเลย タスクครั้งนี้อาจารย์เน้นเรื่อง Tense เป็นหลักครับ ลองพูดออกมาก็เป็นเช่นนี้



飛行機
私はね、ある日、チェンマイへ飛行機で行くことになりましたですから、私は出発日の夜、早く寝ましたが、朝寝坊をしてしまいました。私は起きたら急いで空港へ行きました。でも、空港に着いたところ、チェンマイへ行く飛行機はもう出発してしまいました。それで、私は肩を落として家に帰りました。家に着いた時、私はテレビを見たいと思って、テレビを付けました。テレビの中に朝チェンマイへ行く飛行機は落ちたというニュースがありました私はニュースを見て、とてもびっくりしました。びっくりした私は、その飛行機に乗らなくてよかったと思いました。

หลังจากที่อาจารย์กรุณาตรวจและแจกตัวอย่างของคนญี่ปุ่นเขียนให้ลองศึกษาและ 内省ดูแล้ว ก็พบสิ่งที่ควรแก้ไขมากมายเลย ลองดูกันครับ

๑.    จากที่อาจารย์ตรวจ ประโยค ある日、チェンマイへ飛行機で行くことになりましたนั้นมันไม่เป็นธรรมชาติครับ กล่าวคือ ある日ไม่ควรใช้กับ ことになるเพราะสำนวนことになるเป็นการบอกถึงบางสิ่งบางอย่างที่ได้กำหนดเอาไว้แล้วแต่ต้น ส่วนある日เหมือนกับเป็นการบอกลอยๆว่า มีอยู่วันหนึ่ง(กล่าวโดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าวันไหน)เกิดเหตุการณ์อย่างโน้นอย่างนี้ขึ้น ถ้าเอามาใช้คู่กันแล้วจะแปลก ดังนั้นควรกำหนดวันที่แน่นอนไปเลยจะดีกว่า ส่วนข้างหลังก็บอกไปเลยว่าทำอะไรบ้าง ไม่ต้องใช้สำนวนことになる เช่น 先週の日曜日にあったことなんですけど、私は飛行機でチェンマイに行こうと思って空港へ行きました。เท่านี้ก็จะฟังดูเป็นธรรมชาติ

๒.   สิ่งที่ตัวเองพูดออกมานั้นมีคำบางคำที่ซ้ำกันและบางครั้งไม่จำเป็นต้องพูดก็เข้าใจรวมอยู่ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ですからตรงนี้ไม่จำเป็นต้องใช้คำเชื่อมนี้ เพราะไม่ได้สื่อความหมายอะไรทั้งนั้น หรือ私はก็ไม่จำเป็นต้องมีเพราะกล่าวไว้ตั้งแต่ตอนแรกแล้วว่าเป็นเรื่องของฉัน อีกทั้งทั้งเรื่องก็ไม่ได้เป็นเรื่องของผู้อื่นแต่อย่างใด

๓.   ประโยคびっくりした私は、その飛行機に乗らなくてよかったと思いましたนั้นแปลกตรงการใช้คำขยาย びっくりしたตรงนี้อาจารย์ได้แนะนำว่าถ้าจะใช้びっくりしたเชื่อมเช่นนี้ สิ่งที่พูดถึงข้างหลังต้องเกี่ยวพันกับการ “ตกใจ” ของเรา แต่ประโยคที่ตัวเองใช้ว่าその飛行機に乗らなくてよかったと思いましたไม่ได้เกี่ยวกับการตกใจแต่อย่างใด จึงทำให้ไม่เหมาะสม ส่วนนี้คิดว่าสามารถตัดびっくりした私は、ออกไปเลยก็ได้

๔.   การใช้คำบางคำหรือสำนวนบางสำนวนไม่เหมาะ หรือคำบางคำก็สามารถใช้คำอื่นแทนได้ ลองดูทีละข้อแล้วกันนะ

·       飛行機はもう出発してしまいました
จริงๆแล้วประโยคข้างบนก็ไม่ได้แปลกอะไร แต่บางทีถ้าลองเปลี่ยนเป็นสำนวนอื่นดูอาจฟังดูดีมีระดับขึ้น(เหรอ?)ก็ได้ เช่น でも、飛行機に乗り遅れてしまったんですก็จะเป็นการเน้นการกระทำของเรา อาจจะเหมาะสมกับสถานการณ์ในเรื่องมากกว่าก็ได้

·       私は肩を落として家に帰りました
ประโยคนี้ตั้งใจใช้สำนวน 肩を落とすที่หมายถึง ผิดหวังจนเดินไหล่ตกกลับบ้าน แต่พอได้คิดดูดีๆเลยนึกได้ว่าน่าจะขยายความให้มากกว่านี้อีกสักนิด เช่นว่า ทำไม่ถึงผิดหวัง ไปทำอะไรมา คิดอย่างไร ฯลฯ ลองๆคิดดูถ้าใช้ว่า 飛行機に乗れなかったので、仕方がないと思って家に帰りましたก็ฟังดูดีไม่น้อย

·      テレビの中に、朝チェンマイへ行く飛行機は落ちたというニュースがありました
ประโยคนี้ก็เช่นกัน คำว่า “เครื่องบินตก” นอกจากจะใช้ว่า 飛行機が落ちるได้แล้ว ยังสามารถใช้ว่า 飛行機が墜落(ついらく)するได้อีกด้วย ทั้งสองคำความหมายเหมือนกัน แต่ถ้าใช้อย่างแรกนั้นจะเหมือนเด็กๆพูด ส่วนอย่างหลังจะฟังดูดีมีความรู้มากขึ้น นอกจากนี้ คำว่า テレビの中にก็ฟังดูแปลกเพราะเราไม่ได้กำลังพูดถึงข้างในทีวีที่มีชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆพวกนั้น น่าจะใช้ว่า テレビでจะฟังดูเป็นธรรมชาติมากกว่า ส่วน朝チェンマイへ行く飛行機は นั้น จริงๆแล้วตัวเองต้องการจะพูดว่า “เครื่องบินที่ไปเชียงใหม่เมื่อเช้า” แต่ดันใช้ผิดจาก今朝เป็นซะงั้น แต่ว่าจากตัวอย่างที่อาจารย์แจกให้จะพบสำนวนที่ฟังดูดีกว่าคือ “เครื่องบินที่ตัวเองตั้งใจจะนั่ง” พูดเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า私が乗ろうと思っていた飛行機หรือไม่ก็自分が乗るはずだった飛行機ก็ใช้ได้ นอกจากนี้แล้ว ประโยคニュースがありましたก็สามารถใช้ ニュースをしていたんですแทนได้เช่นกัน

๕.   สิ่งที่อาจารย์ต้องการเน้นในการทำタスクครั้งนี้คือการบรรยายจุดสำคัญของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Tense และ Aspect ของประโยค นั่นคือในส่วนที่ตัวเอกตัวนี้คิดว่า “ถ้าขึ้นเครื่องบินไปตอนนั้น ป่านนี้ตัวเองก็คงต้องตายแล้วแน่ๆ” ตอนพูดเราใช้ว่า その飛行機に乗らなくてよかったと思いましたซึ่งก็นับว่าถูกต้อง อิอิ แต่ยังมีอีกสำนวนหนึ่งที่สามารถใช้ได้เช่นกันคือ その飛行機に乗っていたら、死んでいたと思いますเป็นสำนวนที่ใช้บอกว่า ถ้าตอนโน้นในอดีตฉันทำอย่างโน้นแล้วล่ะก็ ป่านนี้ก็คงจะอย่างนั้นไปแล้วล่ะ ทำนองนี้ ま、役に立つ表現だと僕は思います。

๖.    คิดว่าตัวเองยังบรรยายเรื่องราวตามภาพได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร เช่นในภาพมีรูปประตูว่าปิดแล้ว และมีรูปผู้หญิงกำลังมองเครื่องบินที่บินออกจากสนามบินผ่านทางหน้าต่าง คิดว่าถ้าเพิ่มตรงส่วนนี้ลงไปจะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งเป็นการบรรยายตามรูปภาพที่กำหนดให้ ไม่ใช่เหมือนกับว่าเราคิดเรื่องราวขึ้นเอง

เอาล่ะ ถ้าลองแก้ดูก็จะได้เรื่องใหม่(ไปเลย)แบบนี้

飛行機に乗れなくてよかったな

この前にあったことなんですけど、私は飛行機でチェンマイへ遊びに行く予定がありました。出発日の前の夜、早く寝ましたが、朝寝坊をしてしまいました。起きたら急いで空港へ行きましたが、飛行機に乗り遅れてしまったんです。ゲートがもう閉まっていて、そして窓から飛行機が飛んでいくのが見えました。その時、飛行機に乗れなかったので、仕方がないと思って家に帰りました。家に着いてからテレビを見たいと思って、テレビをつけました。まさか驚いたことに、テレビで、今朝私が乗ろうと思っていた飛行機は墜落したというニュースをしていたんです。私はそのニュースを見て、びっくりしながら「もしあの飛行機に乗っていたら、死んでいただろう」と思いました。

เป็นอย่างไรบ้างครับ คิดว่าดีขึ้นไหมทุกคน ^^