วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

色々な「わけ」に関して

สงสัยมานานแล้วว่ารูปจบประโยค わけแต่ละรูป เช่น わけだ わけじゃない わけがないนั้นมีความหมายและวิธีใช้ต่างกันอย่างไรบ้าง วันนี้ฤกษ์ดี?เลยลองศึกษาดูเลยอยากนำมาแชร์ทุกคนครับ ลองดูนะ

文末表現
意味
例文
わけだ
のは当然だ
寒いわけだ。ヒーターが止まっている。
わけではない
という理由ではない
得意なわけじゃないけど、必要だから運転するんです。
わけない
簡単だ
A:「この問題できる?」
B:「こんなわけないよ!」
わけがない
はずがない
全然勉強しなかったんだから、試験に受かるわけがない
わけにはいかない
べきではない
行きたくないが、行かないわけにはいかない
แต่!! ことはない
必要ない
行きたくないなら、行くことはない

ถ้าทุกคนอ่านโพสต์นี้แล้วเข้าใจเรื่องการใช้ わけมากขึ้นผมก็ดีใจครับ J

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  日本語総まとめN2

今お時間あるかしら?


คราวนี้ลองมาดูเรื่องการใช้ かしらกันครับ ส่วนตัวก็ได้ยินคำนี้บ่อยๆจากการ์ตูนเรื่องโดราเอม่อน มีตอนที่โนบิตะพูดว่าかしらอยู่ไม่น้อยเลย แต่เท่าที่เรารู้คือかしらเป็นคำที่ผู้หญิงใช้ใม่ใช่เหรอ เลยสงสัยว่าอยากรู้ที่มาที่ไปให้ละเอียดกว่านี้หน่อยเลยลองไปศึกษาดูเลยพบว่า かしらเนี่ยเป็นรูปจบประโยคอย่างหนึ่ง เป็นคำที่ผู้หญิงใช้เสียเป็นส่วนมาก ผู้ชายถ้าเป็นสมัยก่อนจะใช้กัน แต่ปัจจุบันอาจจะใช้บ้างแต่น้อย จริงๆแล้วかしらเป็นคำที่ย่อมาอีกทีนึงนะ มันมีที่มาที่ไปแหละ คือ かしらหรือかしらんเนี่ยมันย่อมาจากหรือแสดงความหมายว่า 
「~か知らぬ」หรือ「~かどうか知らない」หรือ「~かどうかわからない」เช่น

「それはどうかしらん」
=「それはどうなのかわからない」


หรือ

「今お時間あるかしら」
=「今(あなたに)お時間があるかどうかわからない」


ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมโนบิตะถึงพูดว่าかしらก็อาจจะเป็นเพราะผู้เขียนเป็นคนมีอายุที่เกิดในสมัยที่ผู้ชายนิยมพูดว่าかしらกันนั่นเอง

もう一度考えよう!

โพสต์ที่ผ่านๆมาเราดูเรื่องเนื้อหาที่เป็นทฤษฎีมาเยอะแล้ว โพสต์นี้เราลองมาดูการใช้รูปจบประโยคจริงๆจากงานเขียนเก่าๆของผมบ้างนะครับ ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี้



ประโยคที่เขียนไปตอนแรกนั้นเขียนว่า 私は笑い出して、目の前の料理を食べ続けたのであるนั้น ถูกอาจารย์แก้ให้โดยการขีดฆ่า のである ออก ตรงนี้พอจะหาเหตุผลได้ว่า のであるนั้นไม่จำเป็นในประโยคนี้ เพราะเป็นการพูดขึ้นมาเฉยๆว่าเรายิ้มออกมาและกินอาหารต่อไป ไม่ได้มีส่วนที่ต้องแสดงเหตุผลหรือเน้นย้ำอะไรเป็นพิเศษนั่นเอง เขียนเป็นประโยคปกติว่า私は笑い出して、目の前の料理を食べ続けられた。ก็เพียงพอแล้ว

ต่อไปลองดูตัวอย่างการใช้ のだในการพูดที่ต้องการคำอธิบายหรือเหตุผลดูนะครับ



จากรูปข้างต้นจะเห็นได้ว่าส่วนที่อาจารย์คอมเม้นท์สีแดงมาให้ประโยคสุดท้ายว่า これをどう説明するのですかอาจารย์ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม สังเกตได้จากประโยคก่อนหน้านั้นพูดถึงเรื่องราวที่เป็นเหตุและประโยคสุดท้ายที่ต้องการเหตุผลโดยรวมทั้งหมด เช่นเดียวกันกับตัวอย่างข้างล่างนี้



 ประโยค どうして空いているのですか。ที่อาจารย์เขียนมานั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาจารย์ต้องการคำอธิบายว่าทำไมถึงเว้นที่ว่างไว้เยอะขนาดนั้น

คงพอจะนึกสถานการณ์ที่ใช้ のだกันได้แล้วนะครับ ยังไงก็อย่าลืมว่าใช้มากไปก็ไม่ดีและใช้ให้ถูกที่ถูกเวลานะครับ อิอิ ^_^

วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

文末表現の特徴(その2)




มาต่อกันเลยครับ เนื้อหาโพสต์นี้จะต่อจากโพสต์ที่แล้วคือเรื่องลักษณะเฉพาะของรูปจบประโยคครับ รูปจบประโยคนั้นนอกจากจะแสดงความหมายที่ต่างกันแล้วยังแฝงความรู้สึกหรือทัศนคติของผู้พูดด้วย ลองพิจารณาประโยคสี่ประโยคต่อไปนี้ดูครับ


·       俺は彼女のことが好きだ

·       俺は彼女のことが好きだった

·       俺は彼女のことが好きかもしれない

·       俺は彼女のことが好きなのだろう


ประโยคข้างต้นถึงแม้ว่าความหมายโดยรวมจะเหมือนกันแต่ทว่าทัศนคติของผู้พูดที่พูดนั้นแตกต่างกันครับ เช่น ผมชอบเธอตอนนี้(ในปัจจุบัน) หรือผมชอบเธอในอดีต ความรู้สึกชอบนั้นหนักแน่นแค่ไหน หรือผู้พูดมีความมั่นใจในคำพูดของตัวเองมากเท่าไร ทัศนคติเหล่านี้สามารถแสดงได้ด้วยรูปจบประโยคที่ต่างกันครับ ดังนั้นเวลาเราพูดอะไรสักอย่างก็ต้องคิดถึงความแตกต่างเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ด้วย ลองใช้กันดูนะครับ :))


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://mozikaki.com/how-to/sentence/sentence005

文末表現の特徴(その1)

ขึ้นเรื่องใหม่เสียที บล็อกนี้เรามาดูลักษณะพิเศษต่างๆของรูปจบประโยคกันนะครับ ลักษณะของรูปจบประโยคอย่างหนึ่งก็คือรูปจบประโยคสามารถแสดงเจตนาหรือทัศนคติของผู้พูดในขณะนั้นๆได้ น้ำเสียงที่พูดแต่ละครั้ง มีทั้งน้ำเสียงที่แข็งๆ ต้องการเน้นหรือออกคำสั่ง กับน้ำเสียงที่อ่อนโยน เพราะๆ น่ารัก ลองดูตัวอย่างกันนะครับ
กริยา 食べるนั้นถึงแม้จะมีความหมายว่า “กิน” เหมือนกัน แต่ถ้าเปลี่ยนรูปจบประโยค(รูปกริยา)ข้างหลังแล้วจะทำให้ความหมายและความรู้สึกที่แตกต่างออกไปค่อนข้างมาก เช่น

·       食べましょうね
·       食べましょうか

ตัวอย่างทั้งสองนี้เป็นตัวอย่างการพูดที่สุภาพอ่อนโยน แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็น

·       食べ
·       食べなさい
·       食べちゃいけない
·       食べちゃだめだ

ก็จะพบว่าผู้พูดแฝงความรู้สึกหรือความต้องการบางอย่างเช่นการออกคำสั่งหรือการห้าม อีกทั้งมีน้ำเสียงแข็งๆ อย่างไรก็ตามความหมายของประโยคเหล่านี้อาจเปลี่ยนไปได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือเจตนาขณะนั้นๆของผู้พูดด้วยเช่นกัน ยังไงก็ต้องหัดสังเกตและตีความเจตนาของผู้พูดด้วย ส่วนตัวอย่างรูปจบประโยคอื่นๆที่แฝงความรู้สึกว่าเป็น 強い言い方 และแสดงความหมายต่างๆ ก็มีดังนี้ครับ

·        ぼくは、行かないつもりだ(แฝงเจตนาหนักแน่น)
·        行きたい、行きたい、ぜひ行きたい(แฝงความต้องการที่หนักแน่น)
·        君は、絶対に行くべきだ(ออกคำสั่ง)
·        君は、絶対に行かねばならない(ออกคำสั่ง)
·        小学生になったら、近所の人には進んで挨拶をしなさい(ออกคำสั่ง)
·        そんなこと、あるはずがない(ปฏิเสธ)
·        静かにしなさい(ออกคำสั่งที่หนักแน่น)
·        うそをついてはいけません(ออกคำสั่งที่หนักแน่น)
·        ぐずぐずしないで、早く出発しろ(ออกคำสั่ง, บังคับ)
·        もう少し、はやく歩いてくれ。(ออกคำสั่ง)

คิดว่าคงเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจครับ ^^


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www16.ocn.ne.jp/~ondoku/modariteibunnmatu.html

様々な文末表現

อย่างที่เราทราบกันดีนะครับว่า 文末表現 หรือเจ้ารูปจบประโยคเนี่ยมีเยอะแยะมากมาย และในบรรดารูปจบประโยคทั้งหมดเนี่ยก็มีไม่น้อยเลยที่มีคู่ของมัน พูดแบบนี้อาจจะงง ที่ต้องการบอกก็คือรูปจบประโยคบางรูปมักจะมาพร้อมกับคำอีกคำหนึ่งที่เป็นรูปแบบที่กำหนดไว้แล้วครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับรูปจบประโยคที่ว่านี้กัน ลองดูนะครับ

ความหมาย
คำที่มักปรากฏด้วย
รูปจบประโยค
ปฏิเสธหรือการห้าม
けっして、少しも、まったく
全然、断じて、絶対に
ない、いけない
แสดงความมั่นใจ
もちろん、当然、必ず
である、はずである
แสดงความต้องการ
どうか、どうぞ、ぜひ
してほしい
การเปรียบเทียบ
ちょうど、まるで、あたかも
ようだ
การคาดการณ์
たぶん、おそらく、きっと
だろう
การสร้างเงื่อนไข
もし、たとえ、仮に、万一
ならば、。。。
แสดงคำถามหรือการสงสัย
なぜ、どうして、いつ、どこ


การใช้รูปจบประโยคพร้อมๆกับคำที่มักปรากฏด้วยดังกล่าว นอกจากจะฟังดูเป็นธรรมชาติเหมือนที่ชาวญี่ปุ่นพูดแล้ว ยังให้ความรู้สึกจริงๆที่ชัดเจนซึ่งเกิดจากคำนั้นๆ ต่อจากนี้ลองเปลี่ยนจากที่พูดรูปจบประโยคอย่างเดียวมาใช้ร่วมกับคำวิเศษณ์ดังกล่าวดูนะครับทุกคน แล้วพบกันบล็อกหน้าค้าบ