วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

文末表現の特徴(その1)

ขึ้นเรื่องใหม่เสียที บล็อกนี้เรามาดูลักษณะพิเศษต่างๆของรูปจบประโยคกันนะครับ ลักษณะของรูปจบประโยคอย่างหนึ่งก็คือรูปจบประโยคสามารถแสดงเจตนาหรือทัศนคติของผู้พูดในขณะนั้นๆได้ น้ำเสียงที่พูดแต่ละครั้ง มีทั้งน้ำเสียงที่แข็งๆ ต้องการเน้นหรือออกคำสั่ง กับน้ำเสียงที่อ่อนโยน เพราะๆ น่ารัก ลองดูตัวอย่างกันนะครับ
กริยา 食べるนั้นถึงแม้จะมีความหมายว่า “กิน” เหมือนกัน แต่ถ้าเปลี่ยนรูปจบประโยค(รูปกริยา)ข้างหลังแล้วจะทำให้ความหมายและความรู้สึกที่แตกต่างออกไปค่อนข้างมาก เช่น

·       食べましょうね
·       食べましょうか

ตัวอย่างทั้งสองนี้เป็นตัวอย่างการพูดที่สุภาพอ่อนโยน แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็น

·       食べ
·       食べなさい
·       食べちゃいけない
·       食べちゃだめだ

ก็จะพบว่าผู้พูดแฝงความรู้สึกหรือความต้องการบางอย่างเช่นการออกคำสั่งหรือการห้าม อีกทั้งมีน้ำเสียงแข็งๆ อย่างไรก็ตามความหมายของประโยคเหล่านี้อาจเปลี่ยนไปได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือเจตนาขณะนั้นๆของผู้พูดด้วยเช่นกัน ยังไงก็ต้องหัดสังเกตและตีความเจตนาของผู้พูดด้วย ส่วนตัวอย่างรูปจบประโยคอื่นๆที่แฝงความรู้สึกว่าเป็น 強い言い方 และแสดงความหมายต่างๆ ก็มีดังนี้ครับ

·        ぼくは、行かないつもりだ(แฝงเจตนาหนักแน่น)
·        行きたい、行きたい、ぜひ行きたい(แฝงความต้องการที่หนักแน่น)
·        君は、絶対に行くべきだ(ออกคำสั่ง)
·        君は、絶対に行かねばならない(ออกคำสั่ง)
·        小学生になったら、近所の人には進んで挨拶をしなさい(ออกคำสั่ง)
·        そんなこと、あるはずがない(ปฏิเสธ)
·        静かにしなさい(ออกคำสั่งที่หนักแน่น)
·        うそをついてはいけません(ออกคำสั่งที่หนักแน่น)
·        ぐずぐずしないで、早く出発しろ(ออกคำสั่ง, บังคับ)
·        もう少し、はやく歩いてくれ。(ออกคำสั่ง)

คิดว่าคงเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจครับ ^^


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www16.ocn.ne.jp/~ondoku/modariteibunnmatu.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น